20 ตุลาคม 2553

LTF กับ 5ปีปฎิทิน


ว่ากันง่ายๆอีกที LTF ก็คือกองทุนรวมรูปแบบหนึ่งที่พิเศษตรงที่ผู้ลงทุนสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ แต่ก็มีเงื่อนไขด้วย ซึ่งเงื่อนไขที่เด่นที่สุดก็คือ

ใช้ลดหย่อนภาษีได้แค่ปีที่ซื้อ และเมื่อซื้อแล้วต้องถือไปอีก 5 ปีปฎิทินถึงจะขายหน่วยลงทุนนั้นได้
(ให้ถือไปอีก 5ปีปฎิทิน คือห้ามขาย ไม่ใช่ลงทุนเพิ่มทุกปีไป 5ปีนะ
)

5ปีปฏิทิน คืออะไร
ปกติถ้าเราพูดว่า 5 ปี เราจะหมายถึง การนับเดือนชนเดือน เช่น ถ้าเริ่มนับวันแรกเป็นวันที่ 1 ธ.ค. 2553 จะครบ 5 ปี ตอนวันที่ 30 พ.ย. 2558 แต่ถ้าเราบอกว่า 5 ปีปฏิทิน จะหมายถึงการนับจำนวนปีจากเฉพาะตัวเลขปี พ.ศ. ไม่ดูเดือน เช่น ถ้าเริ่มนับวันแรกเป็นวันใดก็ได้ในปี 2553 จะครบ 5 ปีปฏิทิน ตอนวันที่ 1 ม.ค. 2557

ดังนั้น ถ้าเราจะถือครอง LTF ให้สั้นที่สุด เราก็ซื้อ LTF วันที่ 31 ธ.ค. 2553 แล้วไปขายวันที่ 1 ม.ค. 2557 ก็จะถือเป็น 5 ปีปฏิทินแล้ว

แต่ก็ต้องระวังนิดนึง เพราะกองทุน LTF จะเปิดให้เราขายได้ แค่ 2 ครั้งต่อปี ในช่วงเวลาที่กองนั้นๆกำหนด เพราะฉะนั้น ถ้ากองที่เราซื้ออยู่ไม่ได้เปิดให้เราขาย ตอนต้นๆปี เราก็จะขายไม่ได้ ต้องรอไปจนถึงเวลาที่ทางกองทุนกำหนด

ส่วนวันที่ซื้อถ้าจะให้ครบปีปฎิทินเร็วๆ ก็ต้องดูว่าวันทำงานสุดท้ายของบลจ.ของปีนั้นเป็นวันที่เท่าไร ซึ่งก็อยากจะให้ข้อมูลเพิ่มสำหรับคนที่ชอบมาซื้อปลายปีว่า โดยมากตลาดหุ้นราคาช่วงปลายปีมักจะสูงกว่าต้นหรือกลางปี (เพราะคนส่วนมากชอบมาซื้อ LTF กันตอนปลายปี ทำให้ราคายิ่งสูงขึ้น) ไม่ต้องงงว่าทำไมไปเกี่ยวอะไรกับตลาดหุ้น อย่าลืมว่า LTF หลักๆเลยคือเป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้น ราคากองทุนมันก็ต้องอ้างอิงตลาดหุ้นเป็นธรรมดา

ถ้าขายก่อนจะเกิดอะไรขึ้น
เราจะต้องคืนเงินภาษีทั้งหมดที่ได้รับการยกเว้นในปีที่เราซื้อนั้น + ดอกเบี้ย และต้องนำกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุนไปรวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้ด้วย

เมื่อการผิดเงื่อนไขการลงทุนแล้ว ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอีกต่อไป และต้องดำเนินการดังนี้
1. ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นไป เฉพาะยอดเงินลงทุนที่ขายคืนพร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน โดยนับตั้งแต่เดือน เมษายน ของปีที่ผู้ลงทุนยื่นขอยกเว้นภาษี จนถึงเดือนที่มีการยื่นคืนเงินภาษี ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงควรยื่นขอคืนเงินภาษีพร้อมเงินเพิ่มทันที ที่มีการทำผิดเงื่อนไขการลงทุน โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงรอบชำระภาษีตามปกติ
2. ต้องจ่ายภาษีของกำไรส่วนเกินทุน (capital gain) โดยนำกำไรที่ได้รับจากการขายคืนไปรวมเป็นเงินได้ของปีที่ขายคืนเพื่อเสียภาษีเงินได้ ซึ่งในทางปฏิบัติเมื่อผู้ลงทุนขายคืน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมจะหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ของกำไรส่วนเกินทุนไว้ก่อน
ที่มา :
http://www.sec.or.th/infocenter/report/Content_0000000743.jsp?categoryID=CAT0000292&lang=th

ยกเว้นในกรณีที่ผู้ลงทุนเสียชีวิตหรือทุพพลภาพจะถือว่าไม่ผิดเงื่อนไขการลงทุน

ส่วนถ้าใครครบ 5ปีแล้วยังไม่ขาย จะรอให้ราคาหน่วยลงทุนสวยๆก่อนแล้วค่อยขายก็ไม่ว่ากัน

อ้อ อันนี้หลายคนไม่รู้ เค้าห้ามขายก่อน 5 ปีปฎิทิน แต่ระหว่างนั้นเราสามารถสับเปลี่ยนสลับไปมาระหว่าง กอง LTF ด้วยกันได้นะ นอกจากนี้ยังสามารถ โอน LTF ของเราไปยังกอง LTF ของ บลจ. อื่นได้ด้วย ไม่ผิดเงื่อนไขแต่อย่างใด

อันนี้เป็นตัวอย่างการสับเปลี่ยน และตัวอย่างอื่นๆ ตามไปอ่านกันเองนะ

http://topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/2010/03/I9047384/I9047384.html
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I9820477/I9820477.html
http://www.aimc.or.th/80aimc_webboard_detail.php?question=Q0612261907bzbxMTkwNy16ei0x

คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน!!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น