23 เมษายน 2555

รวยด้วยกองทุนรวมไม่ยาก


นานๆจะมาเขียนเชียร์หนังสือซักที วันนี้อากาศดี (แดดจ้า เปรี้ยงได้ใจ) เลยขอเบิกฤกษ์ดีนี้เชียร์หนังสือซักเล่มละกัน จากผลตอบรับบทความที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องกองทุนรวม (กองทุนทอง k-gold เขาคิดปันผลยังไง) เลยคิดว่าถ้าไม่เขียนเชียร์หนังสือเล่มนี้คงไม่ได้แล้ว(หนังสือเค้าวางแผงตั้งแต่เดือนมค.แล้วล่ะ) นั่นคือ



ชื่่อหนังสือ : รวยด้วยกองทุนรวมไม่ยาก
ผู้เขียน : ณชา ทการ์
สำนักพิมพ์ : think beyond
ราคาหน้าปก : 185 บาท

ถามว่าหนังสือเล่มนี้น่าสนใจยังไง

แน่นอนล่ะว่าชื่อก็จั่วมาแล้วว่ากองทุนรวม ฉะนั้นใครที่สนใจ หรือเริ่มศึกษาเกี่ยวกับกองทุนรวม หรือกำลังมองหาการลงทุนที่ดีกว่าฝากธนาคาร อยากแนะนำให้ลองหาอ่านดูค่ะ

ในเนื้อหาจะเกริ่นเกี่ยวกับสิ่งที่หนังสือการเรียนเกี่ยวกับเงินๆทองๆเค้าชอบเขียนกัน ก็มีให้อ่านเหมือนกันแต่เราไม่เน้นเพราะเราไม่ได้อยากรู้ตรงนั้น ใช่มะ เข้าใจสิ หัวอกเดียวกัน เราอยากลงทุนเราไม่ได้อยากมาหาหนังสือที่อ่านแล้วว่าอืม กองทุนรวมมันคืออะไรมีอะไรบ้าง เราไม่ได้ต้องการแค่นั้น เราต้องการอยากรู้ว่าอืม แล้วมันต้องเริ่มยังไงล่ะ ติดต่อยังไง แล้วเล่นยังไง เล่นแล้วได้เงินยังไง ได้เงินแล้วต้องทำไงต่อหรือเปล่า ฯลฯ ซึ่งหาได้จากหนังสือเล่มนี้

รายละเอียดแค่นี้พอจะกระตุ้นให้อยากไปซื้อหามาเป็นเจ้าของได้หรือยังคะ หนังสือเล่มนี้จะเน้นพื้นฐาน จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับมือใหม่ ถ้าสนใจก็ไปยืนอ่านตามแผงหนังสือชั้นนำทั่วไปได้เลยนะคะ ^ ^  แล้วถ้าดีก็หิ้วกลับบ้านเป็นกำลังใจให้นักเขียนด้วยน้า

งานนี้ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียซักกะบาทเล้ย ... (เหรอ) ฮ่าๆๆ มีนิดนึงก็ได้
ยังไงก็ให้หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือทางเลือกในอ้อมใจพ่อแม่พี่น้องแฟนคลับทั้งหลายด้วยนะค้า ^^

และอีกเล่มที่อยากจะนำเสนอ เจาะลึกกองทุนรวม ฉบับกำไรง่าย ไม่เสี่ยง


= = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = =

ประกาศจ้า

บล็อกนี้จะไม่เขียนเพิ่มแล้วนะคะจะไปอัพเดทที่เว็บใหม่เลย

แฟนคลับอย่าลืมตามไปให้กำลังใจด้วยน้า

ตามไปอัพเดทบทความใหม่ๆ ได้ที่ www.บริหารเงิน.com นะคะ
= = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = =


14 ความคิดเห็น:

  1. อ่านหนังสือรวยด้วยกองทุนรวมไม่ยากแล้ว มึคำถามเพิ่มเติมดังนี้ค่ะ

    1. การคำนวณ offer กับ bid ก็คือการคำนวณค่า front-end fee กับ back-end fee ใช่ไหมคะ

    2. สนใจซื้อกองทุนรวมที่คิดค่า front-end fee แต่อ่านจากหนังสือชี้ชวนระบุว่ายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
    ถ้าเราต้องการคิดค่า front-end fee ที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม มีวิธีคิดยังไงคะ

    3. ถ้าเราไม่มีรายได้ต้องเสียภาษีจึงไม่ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด. ถ้าหากเราซื้อกองหุ้นปันผลแล้วเลือกแบบไม่หักภาษี เราต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. หรือเปล่าคะ

    4. ต้องการเปรียบเทียบกองทุนที่มีนโยบายลงทุนเหมือนๆ กันว่ากองไหนให้ผลตอบแทน หรือมีผลการดำเนินงานที่ีดีที่สุดจะตรวจสอบหรือหาข้อมูลได้จากที่ไหนคะ (ยกตัวอย่างเปรียบเทียบกันระหว่างกองตลาดเงินจากหลายๆ บลจ.)

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอตอบเป็นข้อๆเลยะนะคะ

      1. การคำนวณ offer กับ bid ก็คือการคำนวณค่า front-end fee กับ back-end fee ใช่ไหมคะ
      ตอบ ใช่ค่ะ ค่าธรรมเนียมการขายหน่วยลงทุน(front-end fee) ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน(Back-end Fee)

      Offer ราคาที่เราซื้อ(หรือราคาเสนอขาย) = NAV+0.0001+(front-end feeถ้ามี)
      Bid ราคาที่เราขาย(หรือราคารับซื้อคืน) = NAV-back-end feeถ้ามี)

      2. ถ้าเราต้องการคิดค่า front-end fee ที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม มีวิธีคิดยังไงคะ
      ตอบ
      กรณีที่ คิดค่า front-end fee ที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
      = NAV + 0.0001 + [(NAV+0.0001)x(ค่าธรรมเนียม%+0.07%)]
      = (NAV + 0.0001)x[1+(ค่าธรรมเนียม%+0.07%)]

      คุณwannaลองเอาค่า Nav Offer Bid ของกองทุนที่สนใจวันก่อนมาลองคำนวณดูก็ได้ค่ะ กรณีที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยเค้ารวมเบ็ดเสร็จให้แล้วเป็นค่า Offer,Bid ค่ะ เช่นกองทุนของไทยพาณิชย์บางกองคิด vat บางกองก็ไม่คิด

      3. ถ้าเราไม่มีรายได้ต้องเสียภาษีจึงไม่ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด. ถ้าหากเราซื้อกองหุ้นปันผลแล้วเลือกแบบไม่หักภาษี เราต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. หรือเปล่าคะ
      ตอบ ถ้าไม่มีรายได้เลยก็ไม่ต้องยื่นค่ะ

      4. ต้องการเปรียบเทียบกองทุนที่มีนโยบายลงทุนเหมือนๆ กันว่ากองไหนให้ผลตอบแทน หรือมีผลการดำเนินงานที่ีดีที่สุดจะตรวจสอบหรือหาข้อมูลได้จากที่ไหนคะ (ยกตัวอย่างเปรียบเทียบกันระหว่างกองตลาดเงินจากหลายๆ บลจ.)
      ตอบ แนะนำที่เว็บ siamchart.com ค่ะ(ไม่ยืนยันความถูกต้องนะคะเพราะไม่ได้ตรวจสอบเหมือนกัน ปกติเราอาศัยดูจากเว็บนี้คร่าวๆค่ะ)
      ยกตัวอย่าง

      เปรียบเทียบกองทุนตลาดเงิน --> http://siamchart.com/fund-compare/MMF

      เปรียบเทียบกองทุนหุ้นปันผล -->
      http://siamchart.com/fund-compare/EQ_THAI_DIV

      สุดท้ายท้ายสุด ขอบคุณที่อุดหนุนนะคะ ^^

      ลบ
  2. ขอบคุณมากๆ เลยนะคะ
    ขอไปคำนวณดูก่อนว่าเข้าใจไหม แล้วจะแจ้งให้ทราบอีกทีนะคะ

    ส่วนคำถามในข้อ 3 กรณีเรามีรายได้ไม่ถึงฐานที่ต้องเสียภาษี
    เวลาที่เราไปซื้อกองหุ้นปันผลเราควรเลือกแบบไม่หักภาษีใช่ไหมคะ
    เพราะยังไงเราก็ไม่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. อยู่แล้ว

    ขอบคุณคะที่ช่วยแนะนำและเขียนหนังสือดีๆ ให้อ่าน

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ก็ต้องขอบคุณคุณ wanna เหมือนกันที่เชื่อใจเพราะอย่างที่บอกว่าเราไม่ได้เรียนหรือทำงานเกี่ยวกับการเงินเลย ที่ตอบได้ก็เพราะแค่สนใจมาก่อน เคยสงสัยและหาคำตอบมาก่อนเท่านั้นเอง

      ฉะนั้นถ้ามีอะไรสงสัยลองถามมาดูก็ได้ค่ะ ยินดีตอบเสมอ ถ้าตอบไม่ได้จะพยามช่วยคุ้ยคำตอบมาให้

      อ่านคำชมแล้วมีกำลังใจขึ้นเยอะเลย ^ ^

      ส่วนที่ถามว่า กรณีเรามีรายได้ไม่ถึงฐานที่ต้องเสียภาษีเวลาที่เราไปซื้อกองหุ้นปันผลเราควรเลือกแบบไม่หักภาษีใช่ไหมคะเพราะยังไงเราก็ไม่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. อยู่แล้ว

      ตอบ
      ในเรื่องภาษีนี่จะเอาให้ละเอียดก็วุ่นวายเหมือนกันนะคะ เอาเป็นว่า

      กรณีไม่มีรายได้เลย อันนี้ไม่ต้องกังวลเรื่องภาษีเลยค่ะ ไม่ต้องยื่นแบบ ไม่ต้องให้หัก ณ ที่จ่าย เพราะถ้าเลือกหัก ณ ที่จ่ายไปก็อาจต้องไปทำเรื่องขอคืน หรือถ้าไม่อยากขอคืนก็ทำให้เราเสียไปฟรีๆ 10%

      จากที่อ่านกรณีคุณ wanna บอกปกติไม่ได้ยื่นแบบอยู่แล้วก็น่าจะเป็นกรณีที่ตอบไปแต่ต้นค่ะ ว่าควรเลือกแบบไม่หักภาษี

      ลบ
    2. ได้ลองไปคำนวณตามคำแนะนำแล้วนะคะ

      เมื่อลองเช็คจากเว็บไซต์ของทางบลจ. ค่า offer กับ bid ที่คำนวณได้เป็นแบบไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม เอาไว้ค่อยสอบถามกับบลจ.อีกครั้งก็แล้วกันค่ะว่าเค้าคิดภาษีมูลค่าเพิ่มอีกหรือเปล่า เพราะในหนังสือชี้ชวนแจ้งว่าต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย ก็เลยยังงงงงอยู่ค่ะ

      ทีนี้มีคำถามรบกวน (อีกแล้วค่ะ) ต่อยอดจากในหนังสือนะคะ
      คือเท่าที่อ่านมาในหนังสือไม่ได้อธิบายว่าจำนวนหน่วยลงทุนที่เราได้มาจากสูตรไหน แต่พอจะทราบมาว่าคำนวณมาจาก

      เงินลงทุนของเรา/NAV

      ใช่ไหมคะ ทีน้มีคำถามค่ะ

      1. อยากทราบว่าเราต้องเสียค่าธรรมเนียมในการซื้อเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่เมื่อหักจากเงินลงทุน 50,000 บาท

      ตามที่ทราบมาไม่ทราบว่าถูกหรือเปล่านะคะว่า

      จำนวนหน่วยลงทุนของกองที่มีค่า front-end fee กับ back-end fee มาจาก

      เงินลงทุนของเรา / offer

      ใช่ไหมคะ

      ขอยกตัวอย่างนะคะ ถ้า
      NAV = 10.5601
      front-end fee = 0.25%
      back-end fee = 0.25%

      เพราะฉะนั้น
      ค่า offer = 10.5866
      ค่า bid = 10.5337
      จำนวนหน่วยลงทุนที่ได้จะเท่ากับ 50,000 / offer ซึ่งเท่ากับ 4,722.9517 หน่วย

      ค่าธรรมเนียมที่ต้องเสียเท่ากับ
      เงินลงทุน-(จำนวนหน่วย x NAV) = 50,000 - 49,874.8422 = 125.1578 บาท

      ใช่ไหมคะ

      2. ถ้าเราต้องการได้เงินลงทุนเริ่มต้น 50,000 บาทคืนทั้งหมด
      เมื่อขายหน่วยลงทุน ค่า NAV กับ bid ต้องมีค่าอย่างน้อยเท่ากับเท่าไรคะ

      ลองคำนวณดูเองก่อนนะคะว่าถูกไหม

      bid x จำนวนหน่วยลงทุน = 50,000
      bid x 4,722.9517 = 50,000
      bid = 10.5866
      ใช่ไหมคะ แล้ว NAV ต้องเท่ากับเท่าไหร่คิดยังไงคะ

      สำหรับคำถามเรื่องภาษีเข้าใจแล้วค่ะ
      ขอบคุณมากๆ เลยนะคะที่สละเวลามาตอบคำถาม
      ยังไงต้องขอโทษด้วยนะคะที่รบกวนจนต้องนอนดึก
      รักษาสุขภาพด้วยนะคะ

      ลบ
    3. ตอบคุณ wanna ขอตอบอย่างคนไม่เก่งคำนวณนะคะ -__-" เห็นสูตรและตัวเลขแล้วมึน แอบไปตั้งสติเล็กน้อยแล้วกลับมาตั้งสติดูใหม่ ^^

      1) ตอบ
      ขอโทษนะคะไมได้ดูตามสูตรของคุณwanna(จริงๆไม่ค่อยถูกกะตัวเลขเท่าไร) แต่ผลออกมาเท่ากันน่าจะใช่

      คิดจากผลต่าง Offer-Nav
      หายไป = 10.5866-10.5601
      = 0.0265 บาทต่อหน่วย
      จำนวนหน่วยที่เรามี 50,000/Offer =4,722.9517 หน่วย
      ที่หายไป = 0.0265 บาท x 4,722.9517 หน่วย
      ประมาณ 125.15 บาท


      2) ถ้าถามว่าลงทุน 5หมื่น แล้วต้องขายที่ nav หรือ bid ที่เท่าไรถึงเท่าทุน

      เอาแบบคร่าวๆละกันนะคะ
      เวลาเราซื้อเรารู้แล้วว่าเราซื้อมาที่ราคา offer ให้=A
      ซื้อได้กี่หน่วย เงินต้น/A ให้ =B
      เวลาเราขาย เราต้องขายที่ราคา bid ของวันนั้น ให้=C

      เราจะรู้ว่าเราได้กำไรเท่าไรก็ ดูจากผลต่างของราคา คูณจำนวนหน่วยที่เรามีใช่ไม๊คะ

      ถ้าเราขายจะได้เงิน =(Cวันขาย-Aวันซื้อ)xB บาท

      แล้วจะรู้ว่าควรจะขายที่เท่าไร ก็ลองไล่ค่าCวันขายดู ถ้ามันไม่ติดลบเป็นใช้ได้ จะให้เป็น ศูนย์เลยคงยากที่เราจะซื้อได้ราคานั้นเป๊ะๆอยู่แล้ว แล้วอีกอย่างเราก็ระบุไม่ได้ว่าจะขายได้ที่ราคาไหน แค่เอาเป็นตัวอ้างอิงเฉยๆ ว่าเวลาจะขายควรขายให้ราคาสูงกว่านี้นะ

      จากที่ถามมาถ้าเท่าทุน bid ก็น่าจะอยู่ที่ 10.5866 <= ใช่ค่ะ
      และ Nav ที่เท่าไร คำนวณจาก Bid = Nav-(Nav*0.25%) (<= ถ้าที่ยกมานี้เป็นกองทุน TMBGolds จะไม่คิด vat)

      ดังนั้น Nav = Bid/(1-0.25%) =10.5866/0.9975
      Nav ประมาณที่ 10.6131 ถึง 10.6132 ค่ะ

      แต่ปรกติเราจะคำนวณใส่ excel ดูคร่าวๆเอาน่ะคะ เราจะประมาณราคาเอาเลยว่าถ้า nav วันนี้เป็นเท่านี้ bidจะเท่าไร offerจะเท่าไร ต้องขายที่เท่าไรถึงจะได้กำไร ถ้าnav ประมาณเท่านี้แล้วเราจะได้กำไรกี่บาท จะดูง่ายกว่าด้วยค่ะ (ทำในเอกเซลใส่สูตรเอา)

      งงไม๊อ่ะ
      ปล.ถ้ามีผู้รู้เก่งกว่านี้อยากช่วยตอบหรือแย้งตรงไหนก็ได้นะคะ ตอบไปก็ยังงงตัวเลขไปอยู่ เหอๆๆๆ

      ลบ
    4. วิธีคิดจากคำถามข้อ 1 ของคุณณชา

      [คิดจากผลต่าง Offer-Nav
      หายไป = 10.5866-10.5601
      = 0.0265 บาทต่อหน่วย
      จำนวนหน่วยที่เรามี 50,000/Offer =4,722.9517 หน่วย
      ที่หายไป = 0.0265 บาท x 4,722.9517 หน่วย
      ประมาณ 125.15 บาท ]

      ซึ่งเป็นวิธีคิดที่ง่ายดีนะคะ

      น่าจะใช้ได้ทั้งสองวิธีเพียงแต่ของคุณณชาจะดูตัวเลขไม่เยอะเพราะเอาค่า NAV กับ Offer หักกัน แต่ของตัวเองจะมากหน่อยเพราะใช้จำนวนเงินลงทุนมาหักลบกัน

      สำหรับคำถามข้อ 2 ตอนเช้ารีบไปหน่อยก็เลยคิด NAV ไม่ได้ ลองตั้งสติ (เหมือนกันค่ะ) กลับไปคิดใหม่ ด้วยวิธีการคำนวณแบบเดียวกันก็ได้ตัวเลขเท่ากันค่ะ

      ที่จริงก็ไม่ได้ต้องการตัวเลขเป๊ะๆ หรอกค่ะ แต่อยากได้เกณฑ์อย่างต่ำที่ใช้พิจารณาว่าไม่ขาดทุนถ้าเกิดคิดจะขายหน่วยลงทุนออกไป

      หวังว่าคำถามเหล่านี้จะเป็นประโยชน์สำหรับคุณณชาในอนาคตนะคะ ถ้าหนังสือขายดีได้พิมพ์หลายครั้งเผื่อจะได้ใช้เป็นข้อมูลในการเพิ่มเติมในหนังสือ กรณีที่มีคนสงสัยในลักษณะเดียวกันนี้ค่ะ

      ขอบคุณอีกครั้งสำหรับทุกๆ คำตอบ และความเสียสละที่ต้องมาตอบคำถามที่ต้องใช้ความอดทนในการอ่านและทำความเข้าใจ

      ขอให้สุขภาพแข็งแรงและหนังสือขายดีๆ นะคะ

      ขอบคุณมากค่ะ

      ลบ
    5. ด้วยความยินดีค่า มีอะไรเราก็แบ่งปันกันค่ะ สงสัยเรื่องอื่นก็บอกได้นะจะช่วยไป(คุ้ย)หามาให้ หุหุ

      จุดประสงค์ที่เขียนบล็อคนี้ไม่ได้อยากจะขายของหรืออะไร แค่อยากบอกอยากเล่าอะไรที่รู้มาแล้วน่าจะมีประโยชน์กับคนอื่นบ้าง ยิ่งมีคนมาอ่านมาถามแสดงว่ามีคนให้ความสนใจและไว้ใจเราระดับนึง แค่เนียะ ชื่นใจแล้วค่ะ

      ผลพลอยได้จากการแบ่งปันทำให้ได้เขียนหนังสือ ได้เพื่อนใหม่เพิ่ม รู้สึกดีมากมาย

      ขอบคุณทุกคำอวยพรนะคะ น่ารักที่สุด ^^

      ลบ
    6. คุณณชาได้แบ่งปันความรู้ที่สงสัยมานานหลายปี
      กระจ่างขึ้นเยอะเลยค่ะ ดีใจนะคะที่ได้รู้จักกัน
      อยากบอกว่าน่ารักที่สุด ^^ เหมือนกันค่ะ

      ลบ
    7. อยากจะกด Like ให้จริงๆ แล้วแวะมาเยี่ยมกันบ่อยๆน้า ที่นี่เยี่ยมได้โดยไม่ต้องมีของฝาก อิอิ

      ลบ
  3. ได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วค่ะ แล้วก็มีความสนใจในกองทุนรวม จึงเริ่มศึกษาดู แล้วก็มีคำถามมาถามค่ะ

    พอดีได้ศึกษาหนังสือชี้ชวนของ "กองทุนเปิดไทยพานิชย์ตราสารหนึ้ื 3M55" ในหนังสือชี้ชวนบอกไว้ว่า

    -อายุโครงการประมาณ 3 เดือน(โดยไม่ต่ำกว่า 2 เดือน 15 วัน และไม่เกิน 3 เดือน 15 วัน
    -ณ วันครบอายุโครงการ บริษัทจัดการจะนำเงินลงทุนคงเหลือทั้งหมดของผู้ถือหน่วยลงทุน ไปลงทุนต่อในกองทุนเปิดไทยพาณิชย์สะสมทรัพย์ตราสารหนี้ (SCBSFF) ซึ่งเป็นไปตามที่ระบุในหนังสือชึ้ชวน โดยผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถทำการสับเปลี่ยนเหรือขายคืนหน่วยลงทุนได้ทุกวันทำการ

    คำถามคือ 1. จากที่หนังสือชี้ชวนระบุไว้แสดงว่าเมื่อครบกำหนดอายุโครงการเราต้องขายหรือวว่าสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนเองใช่มั้ยคะ คือทางกองทุนจะไม่ได้ดำเนินการให้กับเราใช่มั้ยคะ
    2. หนังสือชี้ชวนไม่ได้บอกวันครบกำหนดโครงการอย่างชัดเจน บอกเพียงแค่ว่าจะมีการกำหนดวันสิ้นสุดอายุโครงการในหนังสือชี้ชวนต่อไป แล้วอีกนานมั้ยคะกว่าจะมีการกำหนดวันสิ้นสุดที่ชัดเจน
    3. หากเราต้องการขายหน่วยก่อนวันสิ้นสุดอายุโครงการจะได้มั้ยคะ

    รบกวนช่วยตอบคำถามด้วยนะคะ
    ขอบคุณมากค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ก่อนอื่นต้องขอบคุณมากๆๆที่ช่วยอุดหนุนนะคะ ^^

      กองทุนที่คุณทิพย์สุคนธ์ถามมา จะเป็นแนวกองทุนเปิดที่ทำตัวคล้ายกองทุนปิดอ่ะ เรียกว่าเป็นประเภทกองทุน Fixed income fund กองทุนแบบนี้จะไม่สามารถซื้อขายรายวันได้เหมือนกองทุนเปิดทั่วไป งงไม๊คะ

      สรุปง่ายๆคือ

      -ซื้อแล้วถือไว้ 3 เดือนตามอายุโครงการ(ใน 3 เดือนนี้ขายออกไม่ได้)
      -เมื่อครบกำหนด หลังจากนั้นเงินลงทุนพร้อมผลกำไรจะถูกโอนเข้ากองทุน SCBSFF อัตโนมัติโดยที่เราไม่ต้องทำอะไรเลย
      (SCBSFF-ตัวนี้เป็นกองทุนเปิดที่ซื้อขายหน่วยลงทุนได้ทุกวัน)
      -แล้วถ้าอยากเอาเงินสดออกมาค่อยไปทำการขายกองทุน SCBSFF อีกทีนึงค่ะ แล้วจะได้เงินสด T+1(เช่นขายวันนี้ เงินเข้าบัญชีพรุ่งนี้ที่เป็นวันทำการ)
      -แต่ถ้าไม่เอาออกปล่อยให้ไว้ในกองทุน SCBSFF ผลตอบแทนก็จะเพิ่มขึ้นทุกวันๆอ่ะค่ะ แต่อาจจะเพิ่มไม่มากเพราะกองทุน SCBSFF เป็นกองทุนตราสารหนี้เสี่ยงต่ำผลตอบแทนก็ต่ำตามน่ะค่ะ

      ตอบนะคะ

      1) ถามว่าครบกำหนดเราต้องทำเองหรือเป่า
      ตอบ ระบบทำให้อัตโนมัติตอนย้ายไป SCBSFF ค่ะ แต่ตอนจะเอาเงินสดออกมาเราต้องไปทำขายออก หรือจะสับเปลี่ยนเป็นกองทุนอื่นก็ได้ บางที 4 เดือนผ่านไปลืม เพิ่งนึกได้ก็มีอาจจะมาเห็นกำไรที่เพิ่มขึ้นอีกจากกองทุน SCBSFF ก็ได้

      2)ถามว่าวันสิ้นสุดโครงการเมื่อไร
      ตอบ จากที่ไปลองคุ้ยๆหาหนังสือชี้ชวนมา ไม่รู้เหมือนกันหรือเปล่า=>http://www.scbam.com/v2/user_upload/FUND_DOC/IPO/SCBFI3M55_IPO.pdf
      ช่วงเวลาขาย 26-29 มิย 55 ตามกำหนดกองทุนประเภทนี้ก็นับตามอายุกองทุนเลยค่ะ กองทุนนี้อายุ 3 เดือนเริ่มนับ กรกฎา ก็คาดว่าสิ้นเดือนกันยาคือครบกำหนดปิดโครงการ (แต่ไม่แน่ใจว่าเค้าโอนหน่วยให้เราวันสิ้นเดือนกันยา หรือต้นเดือนสิงหานะคะเพื่อความชัวร์คุณทิพย์สุคนธ์ลองถามเจ้าหน้าที่ขายก็ได้ค่ะ)

      3)ขายก่อนไม่ได้ค่ะ

      แถม
      จากหนังสือชี้ชวน กองทุนนี้ให้ผลตอบแทนประมาณ 3% ต่อปี สังเกตุดีๆนะคะ โครงการมีกำหนดแค่ 3 เดือน ก็จะได้กำไรประมาณ (3/12)x3 =0.75%ต่อ 3 เดือนนะคะ
      นั่นคือ ถ้าลงทุน 10,000 น่าจะได้ผลตอบแทนประมาณ 75 บาท ค่ะ

      ถ้าสงสัยอะไรตรงไหนถามมาได้นะคะ ไม่ต้องเกรงใจ แต่อาจจะตอบช้าบ้างอะไรบ้างอย่าว่ากันนะคะ ^ ^

      ลบ
  4. อ่านหนังสือมาแล้วคำถามน่ะคับ ^__^

    คือผมสงสัยว่าผมอายุยังไม่ถึง20 (19) ถ้าผมจะเปิดบัญชีกองทุนผมต้องให้ผู้ปกครองไปด้วยจริงหรอคับ ถ้าผมเปิดบัญชีเอ่งได้ไหมคับ ^^

    แล้วถ้าผมลงทุนในกองทุนปันผล(แบบเพิ่งเริ่มลงทุนเนี่ยคับ) ผมต้องเสียภาษีด้วยหรอคับ(พออ่านแล้วเพิ่งจะรู้น่ะคับเลยไม่แน่ใจ)

    พี่ๆช่วยตอบคำถามผมหน่อยน่ะคับ ผมอยากเริ่มลงทุนอะคับตอนนี้มีเงินเก็บอยู่บางส่วน

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. พี่ต้องถามก่อนนะว่าจะไปเปิดบัญชีที่บลจ.ไหน เพราะถ้าว่ากันตามกฎหมาย "ผู้เยาว์ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ในการทำธุรกรรมใด ๆ ต้องมีผู้ปกครองรับทราบ และลงนามในเอกสารที่ทำธุรกรรมด้วย" แต่ในทางปฎิบัติก็ต้องขึ้นกับแต่ละที่อีกว่ามีนโยบายในส่วนนี้ยังไง เช่น

      บลจ.ไทยพาณิชย์ ซึ่งเมื่อก่อนก็เคยทำได้แต่เดี๋ยวนี้ระบุเลยว่า ถ้าอายุยังไม่ถึง 20 ปี จะเปิดกองทุนรวมไม่ได้ไม่ว่าผู้ปกครองจะเซ็นยินยอมหรือไม่ก็ตาม (ระบบกองทุนจะมีการตรวจสอบอายุผู้ลงทุนให้ โดยถ้าไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ระบบจะไม่ให้บันทึกข้อมูล)

      ส่วนที่เห็นแน่ๆว่าอายุไม่ถึง 20 ปี แต่สามารถเปิดได้ ก็จะมี บลจ.กรุงศรี บลจ.กสิกร บลจ.ยูโอบี ซึ่งตรงนี้อาจไม่ต้องพาผู้ปกครองไปก็ได้ แต่ต้องมีหนังสือเซ็นยินยอมจากผู้ปกครอง หรืออาจต้องใช้สำเนาบัตรประชาชนของพ่อหรือแม่แนบมาด้วย

      ซึ่งอย่างที่บอกไปแต่ละที่ก็มีนโยบายปลีกย่อยต่างกัน ถ้าเราสนใจจะไปเปิดบัญชีที่ บจล.ไหนลองโทรไปสอบถามเค้าดูก่อนก็ได้ จะได้ชัดเจนไม่ต้องเสียเวลาไปแล้วทำไม่ได้หรือเอกสารไม่ครบด้วย ทั้งนี้ถ้าอยากเปิดจริงๆ อีกวิธีที่แนะนำคือ อาจให้ผู้ปกครองเปิดบัญชีกองทุนให้ และเราทำการซื้อขายทางเน็ตเอา

      กรณีเงินปันผล
      ถ้าเป็นบุคคลที่ไม่มีรายได้ สามารถแจ้งให้ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายก็ได้ แต่ถ้าให้หัก ณ ที่จ่ายไปก็สามารถทำเรื่องขอคืนเงินส่วนนี้ได้ค่ะ แต่สำหรับกรณีเป็นผู้เยาว์ที่อายุต่ำกว่า 20 ปีตรงนี้พี่ไม่มั่นใจนะว่าในส่วนปันผลต้องไปยื่นภาษีรวมรายได้กับพ่อแม่ด้วยหรือเปล่า

      ขอบคุณที่ช่วยอุดหนุนนะคะ และก็ขอให้โชคดีในการลงทุนด้วยค่ะ ^^

      ลบ